วันอังคารที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2560


บันทึกอนุทิน

วิชา  การบริหารจัดการสถานศึกษาระดับปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน   ว่าที่ ร.ต.กฤตธ์ตฤณน์  ตุ๊หมาก
ประจำวัน  พุธที่  1  กุมภาพันธ์   2560
เรียนครั้งที่  4 เวลา   12.30 -  15.30  น.  
กลุ่ม 102




นำเสนอคำคมสำหรับการบริหาร

  เลขที่  4




 "การที่เราจะทำในสิ่งต่างๆ ให้ประสบผลสำเร็จและดีที่สุด เราต้องทำสิ่งนั้นด้วยความรัก และความรักนั้น คุณต้องรักในสิ่งที่คุณทำด้วย"



   เลขที่ 7




"การที่เราจะเป็นผู้บริหาร เราต้องเจอกับสถานการณ์ต่างๆ รวมไปถึงบุคคลมากมาย ดังนั้นผู้ที่เป็นผู้บริหารต้องรู้จักการปรับตัว ให้เหมาะสมกับสถานการ์ณและเหตุการณ์ต่างๆ เพื่อความอยู่รอดของตนและบริษัท"



เลขที่ 8

"ผู้บริหารก็เปรียบเสมือนช่าง เราต้องมีการเตรียมการทำงานให้ดี วางตำแหน่งให้เหมาะสมกับคนและความสามารถ เพื่อให้งานออกมาประสบผลสำเร็จมากที่สุด"




นำเสนองานกลุ่ม  ประเภทสถานศึกษาปฐมวัย



➤ กลุ่มที่ 1 โรงเรียนอนุบาล





โรงเรียนอนุบาลคือ

             โรงเรียนที่เปิดสอนในระดับอนุบาล ซึ่งอาจจะเป็นโรงเรียนของเอกชนหรือของรัฐก็ได้ บางโรงเรียนอาจเปิดสอนระดับประถมศึกษาร่วมด้วย หรืออาจจะสอนถึงระดับมัธยมศึกษาก็ได้

เกณฑ์การรับเด็กเข้าเรียนโรงเรียนอนุบาล
             มาตรา ๓๐ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖ และกฎกระทรวงว่าด้วยการแบ่งระดับและประเภทของการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.๒๕๔๖ ข้อ ๑ (๑) สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จึงได้กาหนดหลักเกณฑ์และวิธีการนับอายุเด็กเพื่อเข้ารับการศึกษา ระดับก่อนประถมศึกษาในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ไว้ดังต่อไปนี้
             ข้อ 1 การรับเด็กเพื่อเข้ารับการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษาในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้รับเด็กที่มีอายุไม่น้อยกว่า ๔ ปีบริบูรณ์
             ข้อ 2 การนับอายุเด็กเพื่อเข้ารับการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษาในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้นับตั้งแต่วันที่เด็กเกิดไปจนถึงวันแรกของการเปิดภาคเรียนที่ ๑ ตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยปีการศึกษา การเปิดและปิดสถานศึกษา พ.ศ. ๒๕๓๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๓


ตัวอย่าางโรงเรียน

 โรงเรียนอนุบาลสามเสน













➤ กลุ่มที่ 2  ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนเกณฑ์ของสถาบันศาสนา





➤ กลุ่มที่  3 เนอสเซอรี่





              เนอร์สเซอรี่  คือ เนอร์สเซอรี่ เป็นคำทับศัพท์มาจากคำภาษาอังกฤษว่า NURSERY สามารถเขียนเป็นภาษาไทยได้หลายแบบ เช่น เนอร์สเซอรี่ เนอสเซอรี่ เนิสเซอรี่ ซึ่งคำว่า NURSERY ใน ภาษาอังกฤษมีความหมายหนึ่งว่า Baby’s Room (ห้องเลี้ยงเด็ก) แต่เรานำมาใช้กับ สถานที่รับเลี้ยงดูเด็กเล็กก่อนวัยอนุบาล ซึ่งเราสามารถเรียกว่าเป็น “สถานรับเลี้ยงเด็ก” โดยส่วนใหญ่จะรับเลี้ยงดูเด็กเล็กอายุแรกเกิดถึง 3 ขวบ แต่บางแห่งอาจรับเฉพาะในระดับ 2-3 ขวบ คือระดับ “เตรียมอนุบาล” และบางแห่งอาจรับดูแลเด็กอายุแรกเกิดถึง 6 ขวบ (เตรียมประถม)


➤ กลุ่มที่ 4 ศูนย์เลี้ยงเด็ก




                การจัดตั้งศุนย์เลี้ยงเด็กสถานประกอบกิจการและชุมชนภายใต้การบูรณาการความร่วมมือกับ  5  กระทรวง  ประกอบด้วย
               - กระทรวงเเรงงาน
               - กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
               - กระทรวงมหาดไทย
               - กระทรวงศึกษาธิการ
               - กระทรวงสาธารณสุข


➤ กลุ่มที่ 5 ศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน

                                           ตัวอย่างศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน



➤ กลุ่มที่ 6  ศูนย์เด็กเล็ก

                                                        ตัวอย่างศูนย์เด็กเล็ก




➤ กลุ่มที่ 7 โรงเรียนเตรียมประถม



           
                 ชั้นเตรียมประถมคืออะไร ชั้นเตรียมประถม ซึ่งเป็นชั้นที่อยู่ระหว่างโรงเรียนอนุบาลกับโรงเรียนประถม ตลอดระยะเวลาเรียนของเด็ก ซึ่งอาจจะเริ่มตั้งแต่ตอนที่เด็กอายุครบ ๑ ขวบ ไปจนถึงจบชั้นมัธยมปลาย จะถูกกำหนด โดยหลักสูตรการศึกษา ซึ่งโรงเรียนอนุบาล โรงเรียนการศึกษาขั้นพื้นฐาน และโรงเรียนมัธยมปลาย ต่างก็มีหลักสูตรการศึกษาของตัวเองโดยเฉพาะ โดยชั้นเตรียมประถมจะใช้หลักสูตรการศึกษาเดียวกับโรงเรียนการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่ง เมืองความรู้แห่งเฮลซิงบอร์ย มองสิ่งนั้นว่าเป็นการติดตามพัฒนาการตั้งแต่วัยเด็กจนถึงวัยผู้ใหญ่                ชั้นเตรียมประถมจะเป็นการศึกษาโดยสมัครใจ แต่เด็กที่มีอายุหกปีในสวีเดนส่วนมาก จะเข้าเรียนในชั้นนี้ เทศบาลจะมีหน้าที่ในการเปิดรับ และจัดการเรียนการสอนในชั้นเตรียมประถมให้แก่เด็ก

      ใครมีสิทธิ์เข้าเรียนได้บ้าง 
              เด็ก ๆ มีสิทธิ์เข้าเรียนชั้นเตรียมประถมเมื่ออายุ 6 ปี ซึ่งเปิดรับเข้าเรียนตามความสมัครใจ และเด็กส่วนมากจะเข้าเรียนในชั้นนี้ เด็กมีสิทธิ์เลือกได้ว่าจะเรียนชั้นเตรียมประถมในโรงเรียนอนุบาลเดิม หรือสถานอบรมดูแลเด็กสำหรับกลุ่มอายุ 6 ปี เด็กทุกคนมีสิทธิ์เข้าเรียนในชั้นเตรียมประถม แต่กฎหมายไม่ได้บังคับว่าต้องเรียนชั้นนี้ โดยส่วนใหญ่ชั้นเตรียมประถม จะจัดอยู่ในหรืออยู่ใกล้กับโรงเรียน ที่นักเรียนจะเข้ารับการศึกษาขั้นพื้นฐานในชั้นปีที่ 1
   
➤ กลุ่มที่ 8  สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย


สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย คือ
       สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย หรือ โรงเรียนเด็กเล็ก เปิดขึ้นเพื่อรับเด็กอายุโดยประมาณ 1ขวบครึ่ง ถึง 3
ขวบ ทำหน้าที่ในการดูแล ส่งเสริมพัฒนาการทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคมและภาษา  ช่วงเวลาเปิดเรียนอาจเป็นเรียนเต็มวันหรือครึ่งวัน แล้วแต่ความต้องการของผู้ปกครองหรือชุมชน

      สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยดำเนินการโดย รัฐบาล และหน่วยงานเอกชนที่มีอยู่หลายรูปแบบมีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไป เช่น
           -สถานรับเลี้ยงเด็ก
           -ศูนย์โภชนาการ
           -ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
           -โรงเรียนอนุบาล
หน่วยงานที่จัดคือ
          -กรมพัฒนาชุมชน
          -กรมอนามัย
          -กรมอาชีวศึกษา
          -สมาคมมูลนิธิต่าง ๆ
          -กรมประชาสงเคราะห์ ซึ่งปัจจุบัน คือ กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ

ตามประกาศของคณะปฏิวัติ
           ฉบับที่ 294 ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515 ได้ให้ความหมายของคำว่า
สถานรับเลี้ยงเด็ก หมายถึง สถานที่รับเลี้ยงเด็กซึ่งมีอายุไม่เกิน 7 ปีบริบูรณ์ และมีจำนวนเกิน 5 คน
ซึ่งไม่เกี่ยวข้องเป็นญาติกับผู้เลี้ยง แต่ไม่รวมถึงสถานพยาบาล หรือโรงเรียนอนุบาล


ลักษณะของสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย
          1. แยกอิสระ
                เป็นบริการตามบ้าน หรือสถานที่ราชการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นบริการแก่ชุมชน เช่น บ้าน
วัด โรงพยาบาล วิทยาลัยพยาบาล โรงงาน เป็นต้น โรงเรียนเด็กเล็กประเภทนี้จะใช้ชื่อต่าง ๆ กัน เช่น
 ศูนย์ดูแลเด็กเล็ก ศูนย์พัฒนาเด็ก เป็นต้น

          2. ขึ้นอยู่กับโรงเรียนอนุบาล
                มักจะเรียกว่า ชั้นเด็กเล็ก (Nursery Class) บางแห่งเรียกเตรียมอนุบาลโรงเรียนเด็กกลุ่มนี้รวมถึงโรงเรียนเด็กเล็กของมหาวิทยาลัยด้วย

         3. ขึ้นอยู่กับโรงเรียนประถมศึกษา
                 โรงเรียนประถมศึกษาบางแห่งจะจัดการศึกษา
ทุกระดับตั้งแต่ชั้นเด็กเล็ก ชั้นอนุบาลและชั้นประถมศึกษา ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความเบ็ดเสร็จสำหรับการ
ศึกษาปฐมวัย




ประวัติความเป็นมาของศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัย         

          เด็กเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าสูงสุดของประเทศ  การเลี้ยงดูเด็กให้เจริญเติบโตและมีพัฒนาการทั้งทางด้านร่างกาย  จิตใจ อารมณ์  สังคม  และจิตวิญญาณที่สมบูรณ์เป็นสิ่งสำคัญ  ที่ผู้เลี้ยงดูเด็กทุกคนจะต้องมีความรู้  ความเข้าใจ  และตระหนักถึงความสำคัญนี้  ประกอบกับในสังคมปัจจุบัน  บิดา มารดาต้องช่วยกันรับผิดชอบในการหารายได้เพื่อความมั่นคงของครอบครัว  ทำให้ภาระหน้าที่ในการเลี้ยงดูอยู่กับคนอื่น
          คณะพยาบาลศาสตร์  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  ได้ตระหนักถึงความจำเป็นในการจัดการศึกษาการเจริญเติบโต  และพัฒนาการ  การบริบาลเด็กปฐมวัยที่มีคุณภาพดีและการให้บริการวิชาการแก่สังคม  ในการช่วยเหลือบิดา มารดา  ท่านผู้ปกครองที่จะดูแลเด็กอย่างมีคุณภาพ  โดยเฉพาะเด็กตั้งแต่อายุ  6  สัปดาห์  ถึง  3  ปี  ซึ่งเป็นวัยที่การเจริญเติบโตและพัฒนาการอย่างรวดเร็วเป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาเป็นผู้ใหญ่ในอนาคต  จึงได้จัดตั้งศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัยขึ้นเมื่อวันที่ 2  สิงหาคม  พ.ศ.  2542  เป็นต้นมา




1 ความคิดเห็น: