บันทึกอนุทิน
วิชา การบริหารจัดการสถานศึกษาระดับปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน ว่าที่ ร.ต.กฤตธ์ตฤณน์ ตุ๊หมาก
ประจำวัน พุธที่ 25 มกราคม 2560
เรียนครั้งที่ 3 เวลา 12.30 - 15.30 น.
กลุ่ม 102
นำเสนอคำคมสำหรับการบริหาร
เลขที่ 4
"ผู้นำที่ดีต้องคอยกระตุ้น ทีมงาน ต้องรู้จักให้ของรางวัลคอยส่งเสริม ไม่ใช่คอยแต่ด่า บ่น ลูกน้อง"
เลขที่ 6
"คนที่เป็นหัวหน้าหรือผู้นำ เราต้องทำหน้าที่นั้นให้เป็นก่อน ก่อนที่จะสั่งคนอื่น เราจะได้รู้และเข้าใจในงานที่ลูกน้องได้รับ"
บทบาทหน้าที่ของผู้บริหาร
➤บทบาทของผู้บริหาร ผู้นำในยุคโลกาภิวัตน์
เมื่อกล่าวถึงผู้นำ คนส่วนใหญ่จะคิดถึงภาพของผู้ที่มีอำนาจ มีตำแหน่งใหญ่โต มีอิทธิพล ต่อผู้อื่น ผู้นำที่ยิ่งใหญ่สามารถสั่งการได้ หรือเดินตามในทิศทางที่ผู้นำก้าวเดินหรือกำหนดให้ ผู้คนเกรงกลัว
นับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันในการบริหาร ผู้นำยังคงเป็นความคาดหวังสูงสุดในการแบกรับภาระ นำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จ แต่ทว่า บทบาทผู้นำในยุคของพระนเรศวรมหาราชกับผู้นำของวันนี้แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง โดยเฉพาะในโลกของธุรกิจ หากผู้นำคนใดยังผูกขาดการตัดสินใจ ไม่ยอมสร้างการมีส่วนร่วม ก็ยากที่จะนำพาองค์กรหรือประเทศอยู่รอดได้อย่างยั่งยืน และที่สำคัญไปกว่านั้นก็คือ ผู้นำยุคนี้ต้องทำงานเชิงรุกเพื่อสร้างความได้เปรียบอยู่เสมอ
ความรู้เกี่ยวกับผู้นำ
➤ความหมายและประเภทของผู้นำ
ผู้นำ (Leader) หมายถึง บุคคลที่มีศิลป บุคลิกภาพ ความสามารถ เหนือบุคคลทั่วไป สามารถชักจูงให้ผู้อื่นปฏิบัติตามที่ต้องการได้ ส่วนความเป็นผู้นำ (Leadership) เป็นกระบวนการที่มีอิทธิพลต่อกลุ่ม เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ผู้บริหารทุกคนควรเป็นผู้นำ และมีภาวะผู้นำ แต่ผู้นำไม่สามารถเป็นผู้บริหารที่ดีได้ทุกคน เพราะผู้บริหารต้องมีทักษะ มีความสามารถในหน้าที่ของผู้บริหารด้วย
ประเภทของผู้นำ
1. ผู้นำตามอำนาจหน้าที่ เป็นผู้นำโดยอาศัยอำนาจหน้าที่ (Authority) และมีอำนาจบารมี (Power) เป็นเครื่องมือ มีลักษณะที่เป็นทางการ (Formal) และไม่เป็นทางการ (Informal) เกิดพลังร่วมของกลุ่มในการดำเนินงานเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ อำนาจนี้ได้มาจาก กฎหมาย กฎระเบียบ หรือขนบธรรมเนียม ในการปฏิบัติ จำแนกผู้นำประเภทนี้ออกเป็น 3 แบบ คือ 1 ผู้นำแบบใช้พระเดช 2 ผู้นำแบบใช้พระคุณ 3 ผู้นำแบบพ่อพระ
1.1 ผู้นำแบบใช้พระเดช (Legal Leadership) ผู้นำแบบนี้เป็นผู้นำที่ได้อำนาจในการปกครองบังคับบัญชาตามกฎหมายมีอำนาจตามตำแหน่งหน้าที่ราชการมาหรือเกิดขึ้นจากตัวผู้นั้น หรือจากบุคลิกภาพของผู้นั้นเอง ผู้นำแบบนี้ได้แก่ผู้ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ ในกระทรวง ทบวง กรม เช่น รัฐมนตรี อธิบดี หัวหน้ากอง และหัวหน้าแผนก เป็นต้น
1.2 ผู้นำแบบใช้พระคุณ (Charismatic Leadership) ผู้นำที่ได้อำนาจเกิดขึ้นจากบุคลิกภาพอันเป็นคุณสมบัติส่วนตัวของผู้นั้น มิใช่อำนาจที่เกิดขึ้นจากตำแหน่งหน้าที่ ความสำเร็จในการครองใจและชนะใจของผู้นำประเภทนี้ ได้มาจากแรงศรัทธาที่ก่อให้ผู้อยู่ใต้บังคับเกิดความเคารพนับถือและเป็นพลังที่จะช่วยผลักดันให้ร่วมจิตร่วมใจกัน ปฏิบัติตามคำสั่งแนะนำด้วยความเต็มใจ ตัวอย่างได้แก่ มหาตมะคันธี ซึ่งสามารถใช้ภาวะการเป็นผู้นำครองใจชาวอินเดียนับเป็นจำนวนล้าน ๆ คน ได้
1.3 ผู้นำแบบพ่อพระ (Symbolic Leadership) ผู้นำที่มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายมิได้ใช้อำนาจหน้าที่ในการปกครองบังคับบัญชา บุคคลเหล่านั้นปฏิบัติตามเพราะเกิดแรงศรัทธา หรือสัญญาลักษณ์ในตัวของผู้นั้นมากกว่า เช่น พระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นองค์ประมุขและสัญลักษณ์ของแรงศรัทธาของประชาชนไทยทั้งมวล
2. ผู้นำตามการใช้อำนาจ
2.1 ผู้นำแบบเผด็จการ (Autocratic Leadership) หรือ อัตนิยม คือใช้อำนาจต่าง ๆ ที่มีอยู่ในการสั่งการแบบเผด็จการโดยรวบอำนาจ ไม่ให้โอกาสแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น ตั้งตัวเป็นผู้บงการให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเชื่อฟังโดยเด็ดขาด ปฏิบัติการแบบนี้เรียกว่า One Man Show อยู่ตลอดเวลาโดยไม่คำนึงถึงจิตใจของผู้ปฏิบัติงาน เช่น ฮิตเลอร์
2.2 ผู้นำแบบเสรีนิยม (Laisser-Faire Leadership) หรือ Free-rein Leadership ผู้นำแบบนี้เกือบไม่มีลักษณะเป็นผู้นำเหลืออยู่เลย คือ ปล่อยให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชากระทำกิจการใด ๆ ก็ตามได้โดยเสรี ซึ่งการกระทำนั้นต้องไม่ขัดต่อกฎหมาย กฎระเบียบหรือข้อบังคับที่กำหนดไว้ และตนเป็นผู้ดูแลให้กิจการดำเนินไปได้โดยถูกต้องเท่านั้น มีการตรวจตราน้อยมากและไม่ค่อยให้ความช่วยเหลือในการดำเนินงานใด ๆ ทั้งสิ้น
2.3 ผู้นำแบบประชาธิปไตย (Democratic Leadership) ผู้นำแบบนี้ เป็นผู้นำที่ประมวลเอาความคิดเห็น ข้อเสนอแนะจากคณะบุคคลที่อยู่ใต้บังคับบัญชาที่มาประชุมร่วมกัน อภิปรายแสดงความคิดเห็นในปัญหาต่าง ๆ เพื่อนำเอาความคิดที่ดีที่สุดมาใช้ ฉะนั้น นโยบายและคำสั่งจึงมีลักษณะเป็นของบุคคลโดยเสียงข้างมาก
3. ผู้นำตามบทบาทที่แสดงออก จำแนกเป็น 3 แบบ คือ
3.1 ผู้นำแบบบิดา-มารดา (Parental Leadership) ผู้นำแบบนี้ ปฏิบัติตนเหมือนพ่อ-แม่ คือทำตนเป็นพ่อแม่เห็น ผู้อื่นเป็นเด็ก อาจจะแสดงออกมาในบทบาทของพ่อแม่ที่อบอุ่น ใจดี ให้กำลังใจ หรืออาจแสดงออกตรงกันข้ามในลักษณะการตำหนิติเตียนวิพากษ์ วิจารณ์ คาดโทษ แสดงอำนาจ
3.2 ผู้นำแบบนักการเมือง (Manipulater Leadership) ผู้นำแบบนี้พยายามสะสมและใช้อำนาจ โดยอาศัยความรอบรู้และตำแหน่งหน้าที่การงานของคนอื่นมาแอบอ้างเพื่อให้ตนได้มีความสำคัญและเข้ากับสถานการณ์นั้น ๆ ได้ ผู้นำแบบนี้เข้าทำนองว่ายืมมือ ของผู้บังคับบัญชาของผู้นำแบบนี้อีกชั้นหนึ่ง โดยเสนอขอให้สั่งการเพื่อประโยชน์แก่การสร้างอิทธิให้แก่ตนเอง
3.3 ผู้นำแบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert Leadership) ผู้นำแบบนี้เกือบจะเรียกว่าไม่ได้เป็นผู้นำตามความหมายทางการบริหาร เพราะมีหน้าที่ให้คำปรึกษาแนะนำแก่ Staff ผู้นำแบบนี้มักเป็นผู้เชี่ยวชาญและมีความรู้เฉพาะอย่าง เช่น คุณหมอพรทิพย์ มีความเชี่ยวชาญในการตรวจ DNAถ้าพิจารณาจากบุคลิกภาพอีริก เบิร์น จิตแพทย์ชาวอเมริกัน ได้วิเคราะห์โครงสร้างของบุคลิกภาพของคนว่ามีอยู่ 3 องค์ประกอบ คือภาวะของความเป็นเด็ก (Child egostate ) ภาวะของการเป็นผู้ใหญ่ (Adult egostate ) และภาวะของความเป็นผู้ปกครอง (Parents egostate) ก็จะมองผู้นำได้เป็น 3 แบบ คือภาวะความเป็นเด็ก ผู้ใหญ่ พ่อแม่ ในแบบผู้นำ
➤ คุณสมบัติของผู้นำ
ผู้ที่จะเป็นผู้นำที่ยิ่งใหญ่ได้ จะต้องเป็นมาตั้งแต่เกิด ไม่สามารถพัฒนาขึ้นมาภายหลังได้ (Leader are bone, not made)
คุณสมบัติพื้นฐานที่ทำให้ผู้นำแตกต่างจากบุคคลทั่วไป
1. ความมุ่งมั่น (drive)
2. แรงจูงใจในการเป็นผู้นำ (Leadership Motivation)
3. ความซื่อสัตย์ (Integrity)
4. ความเฉลียวฉลาด (Intelligence)
5. ความมั่นใจในตัวเอง (Self-confidence)
6. ความรอบรู้ในสิ่งที่ตนเองทำ (Knowledge of the Business)
สรุป คุณสมบัติของผู้ที่จะเป็นผู้นำที่ดีได้ ดังนี้ คือ
1. มีความเฉลียวฉลาด
2. มีการศึกษาอบรมดี
3. มีความเชื่อมั่นใจตนเอง
4. เป็นคนมีเหตุผลดี
5. มีประสบการณ์ในการปกครองบังคับบัญชาเป็นอย่างดี
6. มีชื่อเสียงเกียรติคุณ
7. สามารถเข้ากับคนทุกชั้นวรรณะได้เป็นอย่างดี
8. มีสุขภาพอนามัยดี
9. มีความสามารถเหนือระดับความสามารถของบุคคลธรรมดา
10 มีความรู้เกี่ยวกับงานทั่ว ๆ ไปขององค์กร หรือหน่วยงานที่ตนปฏิบัติอยู่โดยเฉพาะ
11. มีความสามารถเผชิญปัญหาเฉพาะหน้า ที่จะเกิดขึ้นในขณะปฏิบัติงานให้ได้ทันท่วงที
12. มีความสามารถคาดการณ์
➤ ภาวะผู้นำ (Leadership)
ภาวะผู้นำ กระบวนการหรือพฤติกรรมการใช้อิทธิพลเพื่อควบคุม สั่งการ เกลี้ยกล่อม จูงใจ ให้ผู้ตามหรือกลุ่ม ปฏิบัติตามเพื่อการบรรลุเป้าหมาย หรือความเป็นผู้นำนั้นเอง คุณสมบัติของผู้นำมีหลายอย่าง หลายด้าน ผู้นำจะต้องมีความสามารถในการปฏิบัติต่อสิ่งเหล่านั้นให้ถูกต้องและได้ผลดี โดยมีองค์ประกอบดังนี้
1. ตัวผู้นำ 2. ผู้ตาม
3. จุดหมาย 4. หลักการและวิธีการ
5. สิ่งที่จะทำ 6. สถานการณ์
1. ผู้นำโดยกำเนิด ผู้นำประเภทนี้ เกิดมาก็มีคุณลักษณะบ่งบอกถึงความเป็นผู้นำ อาจสืบทอดโดยตำแหน่ง หรือโดยบุญบารมีที่ได้สั่งสมกันมาเป็นเวลานาน จึงทำให้บุคคลนั้น เป็นที่ยอมรับนับถือของบุคคลอื่น ท่านเหล่านี้จึงเป็นผู้นำโดยกำเนิด เช่น พระพุทธเจ้า พระเจ้าอยู่หัว
2. ผู้นำที่มีความอัจฉริยะ ผู้นำประเภทนี้เกิดขึ้นได้เพราะเป็นผู้มีความสามารถเป็นอัจฉริยะ โดยเฉพาะบุคคลในตอนเริ่มต้นของชีวิตในระยะแรก ๆ ก็เหมือนกับบุคคลทั่วไป แต่เนื่องจากเป็นผู้มีความเฉลียวฉลาด มีสติปัญญา ได้รับการศึกษาพัฒนาปรับตัวเข้าสู่การเป็นผู้นำ เช่น พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายธานินทร์ เจียรวนนท์ และนายบิลเกตต์
3. ผู้นำที่เกิดขึ้นตามสายงานบริหาร ผู้นำประเภทนี้เป็นผู้นำที่เกิดจากการได้รับการแต่งตั้งตามสายงานการบริหาร ผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่ประสบความสำเร็จก็จะได้เลื่อนตำแหน่งสูงขึ้น เช่น อธิบดี ผู้อำนวยการ อธิการบดี หัวหน้าฝ่าย
4. ผู้นำตามสถานการณ์ เป็นผู้นำที่เกิดขึ้นแบบมีทีมงานเป็นส่วนใหญ่ มีความใฝ่ใจสูง เน้นการบริหารงานให้ได้ทั้งคนและทั้งงาน สถานการณ์ที่เกิดขึ้นมีจุดมุ่งหมายร่วมกัน รู้จักหน้าที่ของตน ผู้นำประเภทนี้แสดงออกให้เกินถึงความเป็นผู้นำที่ต้องออกคำสั่ง การบังคับบัญชา การตัดสินใจ ผู้นำแบบนี้มักเป็นเพื่อนร่วมงาน เป็นครู เป็นผู้สอนแทน ผู้นำในการฝึกอบรม การประชุม
➤ ลักษณะและบทบาทของผู้นำ
ผู้นำจะนำไปในทิศทางที่ถูกต้องเสมอ ดังนั้น คนที่เป็นผู้นำที่เข้มแข็ง ก็อาจจะไม่ใช่ผู้จัดการ หรือบริหารที่ดีได้ หรือผู้บริหาร-ผู้จัดการที่ดี ก็อาจไม่ใช่ผู้นำที่ดีก็ได้ ดังนั้น ถ้าเป็นไปได้ องค์การหนึ่งองค์การใดที่ต้องการประสบความสำเร็จ ก็ย่อมต้องการผู้บริหาร หรือผู้จัดการที่มีลักษณะเป็นผู้นำดังนี้
1. ต้องมีความฉลาด (Intelligence)
2. ต้องมีวุฒิภาวะทางสังคมและใจกว้าง (Social Maturity & Achievement Drive)
3. ต้องมีแรงจูงใจภายใน (Inner Motivation)
4. ต้องมีเจตคติที่ดีเกี่ยวกับมนุษยสัมพันธ์ (Human Relations Attitudes)
➤ ลักษณะของผู้นำในทศวรรษหน้า
1. เป็นผู้บริหารที่ไม่มากเกินไปในทางใดทางหนึ่ง คือ ไม่ใช่ผู้นำที่มุ่งแต่งานอย่างเดียว หรือมุ่งที่คนอย่างเดียว
2. ผู้บริหารเน้นการสร้างให้ผู้ปฏิบัติงานทุกคนมีความเป็นเลิศในทุกด้าน
3. วิธีการแก้ปัญหาของผู้นำจะใช้ผู้ปฏิบัติงานแก้เอง
4. ผู้นำจะมอบอำนาจ จนพอที่ผู้ปฏิบัติงานสามารถใช้อำนาจนั้นให้งานสำเร็จในตัว
5. ผู้นำเน้นคุณสมบัติของผู้ปฏิบัติงานที่สามารถทำงานเป็นทีมได้อย่างดี
➤ ผู้นำยุคใหม่
คุณสมบัติของผู้นำตามอักษรแต่ละตัวในคำว่า LEADERSHIP มีความหมายบ่งชี้ถึงลักษณะต่างๆ ของผู้นำที่ดี ดังนี้
1. L คือ Listen เป็นผู้ฟังที่ดี..
2. E คือ Explain สามารถอธิบายสิ่งต่างๆ ให้เข้าใจได้..
3. A คือ Assist ช่วยเหลือเมื่อควรช่วย…
4. D คือ Discuss รู้จักแลกเปลี่ยนความคิดเห็น..
5. E คือ Evaluation ประเมินผลการปฏิบัติงาน..
6. R คือ Response แจ้งข้อมูลตอบกลับ…
7. S คือ Salute ทักทายปราศรัย...
8. H คือ Health มีสุขภาพดีทั้งกายและใจ..
9. I คือ Inspire รู้จักกระตุ้นและให้กำลังใจลูกน้อง..
10. P คือ Patient มีความอดทนเป็นเลิศนั่นเอง..
สรุป ผู้นำยุคใหม่ ก้าวไกลสู่สากล จึงจำเป็นต้องเป็นผู้มีความรู้ ความคิดดี มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีวิสัยทัศน์ สามารถคิดคาดการณ์ล่วงหน้า มีความมุ่งมั่น มีจิตใจดีงาน (business mind, social heart) พร้อมที่จะรับฟัง ยอมรับ และใส่ใจผู้อื่น มีความฉลาดทางความคิดปัญญา และความฉลาดทางอารมณ์ รู้เท่าทันอารมณ์ จัดการกับอารมณ์ และจูงใจ ทั้งตนเองและผู้อื่นให้มีจิตใจร่วมกันเป็นหนึ่งเดียว เพื่อร่วมกันทำงานได้ด้วยความเต็มใจเพื่อนำองค์กรไปสู่ความเจริญก้าวหน้าที่ยั่งยืน
➤ ความรู้เกี่ยวกับผู้บริหาร
ผู้บริหาร หรือ ผู้จัดการ เป็นสมาชิกในองค์กร แต่ไม่ได้หมายความว่าทุกคนที่ทำงานในองค์กรจะเป็นผู้บริหารทุกคน สมาชิกในองค์กรขนาดใหญ่แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ผู้ปฏิบัติงานกับผู้บริหาร ในองค์การนั้นผู้บริหารต่าง ๆ อาจมีชื่อเรียกต่าง ๆ กัน เช่น ผู้บริหารระดับล่างมักจะใช้ชื่อว่า Supervisor ถ้าในโรงงานอุตสาหกรรมจะเรียกว่า Foreman (หัวหน้างาน) ส่วนผู้บริหารระดับกลางก็จะมีชื่อเรียกต่าง ๆ กัน เช่น ผู้จัดการโรงงาน ผู้จัดการแผนก หัวหน้าหน่วย คณบดี ผู้บริหารระดับสูงขององค์กร รับผิดชอบในด้านนโยบาย กลยุทธ์ และตัดสินใจนั้น ได้แก่ รองประธาน ประธาน ผู้อำนวยการ อธิการ ประธานบอร์ด CEO
➤ คุณลักษณะของผู้บริหาร
นักบริหารมืออาชีพได้สรุปคุณลักษณะดังนี้
1. Vision เป็นผู้มีวิสัยทัศน์
2. Charisma เป็นผู้มีเสน่ห์ มีแรงดึงดูด สร้างความเชื่อให้คนเกิดความศรัทธา คล้อยตามได้
3. Integrity มีความเป็นปึกแผ่น เหนียวแน่น
4. Self – Less ทำอะไรไม่นึกถึงตนเองแต่คำนึงถึงส่วนรวม
5. Courage มีความกล้าหาญ
6. Uncompromising ไม่ยอมอ่อนในเรื่องบางเรื่อง
7. High Ground ความมีมาตรฐานในตัวเองมีความซื่อสัตย์ และมีความโปร่งใสสูง
8. Listening รู้จักฟัง
9. Fairness มีความยุติธรรมเที่ยงธรรม
10. Sense of Time มีสติ รู้ทันเหตุการณ์ว่าต้องทำอะไร
11. Know Others Know Oneself เข้าใจคนอื่นและเข้าใจตนเอง หรือรู้เขารู้เรา
12. Judgment ยุติธรรม
13. Inspiring มีความมุ่งมั่น
14. Faith มีความเชื่อมั่น ศรัทธา
15. Institutional มีความเป็นองค์กรนั้น
➤ ระบบการบริหาร (Management System)
ระบบการบริหารแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1. ระบบเปิด (Open system) เป็นองค์การซึ่งดำเนินภายในและมีการปฏิสัมพัทธ์ (interacts) กับสภาวะแวดล้อมทั้งภายในและภายนอก วิธีการบริหารงานอย่างอย่างมีระบบนั้นประกอบไปด้วย ปัจจัยจากสภาวะแวดล้อมภายนอกและจากการเรียกร้องขบวนการแปลงสภาพ ระบบการติดต่อสื่อสาร
2. ระบบปิด (Closed System) เป็นระบบที่ไม่ต้องการอิทธิพลใด ๆ จากภายนอกและไม่ได้เกี่ยวข้องกับสภาวะแวดล้อมต่าง ๆ ธุรกิจมักจะมองแต่ภายในองค์การของตนเองมากกว่าท่าจะสนใจกับสภาพแวดล้อม รอบ ๆ ตัวธุรกิจไม่ว่าจะเป็นลูกค้า รสนิยมผู้บริโภค สภาพการณ์ของตลาด ฯลฯ
➤ บทบาททางการบริหาร (Management Roles)
Henry Mintberg ได้ทำการศึกษาวิจัยพบว่าบทบาทของผู้บริหารที่สำคัญมี 10 อย่างประกอบด้วย 3 กลุ่มหลัก ซึ่งมีความสัมพันธ์ต่อกันอย่างมากบทบาท คือ
1. บทบาทด้านมนุษย์สัมพันธ์ (Interpersonal roles) ได้แก่
- ประธาน (Figurehead) เป็นบทบาทในการเป็นตัวแทน องค์กร เป็นหัวหน้าในการปฏิบัติภารกิจประจำวันตามลักษณะทางสังคมและกฎหมาย เช่น อบรมสัมมนาต้อนรับลูกค้า หรือเป็นการสวมหัวโขนนั่นเอง
- ผู้นำ (Leadership) เป็นบทบาทที่ต้องรับผิดชอบในการจูงใจและชี้นำผู้ใต้บังคับบัญชา ให้ทำงานอย่างเต็มความสามารถ
- ผู้เชื่อมสัมพันธ์ไมตรี (Liasson) เป็นบทบาทในการสร้างและรักษาความสัมพันธ์กับองค์การภายนอก การสร้างเครือข่ายต่าง ๆ สร้างไมตรี ผูกมิตรอันดีกับบุคคลหรือกลุ่มต่าง ๆ ที่มีความสำคัญต่อองค์การ
2. บทบาทด้านข่าวสาร (Informational roles) ได้แก่
- ผู้แสวงหาข้อมูลข่าวสาร (Monitor)
- ผู้กระจายข้อมูลข่าวสาร (Disseminator)
- โฆษก ประชาสัมพันธ์ (Spokesperson)
3. บทบาทด้านการตัดสินใน (Decision roles) ได้แก่
- ผู้ประกอบการ (Entrepreneur)
- ผู้ขจัดความขัดแย้ง (Disturbance Handler)
- ผู้จัดสรรทรัพยากร (Resource Allocate)
- ผู้เจรจาต่อรอง (Negotiator)
➤ ทักษะของผู้บริหาร
Robert L. Katz ได้เสนอว่าทักษะของผู้บริหารที่สำคัญมี 3 อย่าง คือ
1) ทักษะด้านเทคนิค (Technical Skills)
2) ทักษะด้านมนุษย์สัมพันธ์ (Human Skills)
3) ทักษะด้านการประสมแนวความคิด (Conceptual Skill)
➤กิจกรรมทางการบริหาร
Fred Luthans ได้เสนอกิจกรรมทางการบริหารมี 4 อย่างด้วยกัน คือ
1. Traditional Management ได้แก่ การตัดสินใจ การวางแผน และการควบคุม
2. Communication ได้แก่ การแลกเปลี่ยนแปลงข่าวสาร และการทำเอกสารต่าง ๆ
3. Human Resource Management ได้แก่ การจูงใจ การจัดวางระเบียบกฎเกณฑ์ การบริหาร ความขัดแย้ง การจัดคนเข้าทำงานและการฝึกอบรม
4. Networking ได้แก่ การเข้าสมาคม การเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการเมือง และการเข้าไปเกี่ยวข้องกับบุคคลภายนอก
จากการสำรวจ ผู้บริหารที่มีประสิทธิผลกับผู้บริหารที่ประสบความสำเร็จจะใช้เวลาในการทุ่มเทให้กับกิจกรรมดังกล่าวต่างกัน คือผู้บริหารที่ประสบความสำเร็จ (Successful Managers) ซึ่งก้าวหน้าในหน้าที่การงานได้เร็วกว่าผู้อื่น จะเน้นกิจกรรมด้าน Networking มากที่สุดทำกิจกรรมด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์น้อยที่สุด ส่วนผู้บริหารที่ตั้งใจทำงานให้เกิดประสิทธิผล (Effective Manager) ซึ่งพิจารณาจากปริมาณและคุณภาพของการปฏิบัติงานเป็นเครื่องวัดนั้น จะเน้นด้านการติดต่อสื่อสาร (Communication) การบริหารทรัพยากรมนุษย์และงานด้านการบริหารตามลำดับ ส่วนกิจกรรมด้าน networking จะทำน้อยที่สุด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น